เมาส์ เจ้าหนูคอมพิวเตอร์!!


มาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ mouse pointerเป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสรร ต่างๆกัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสรรแปลกตาไปจากรุ่นทั่วๆไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ Air Mouse ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกัน
การทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(ในรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนูเมาส์และหางหนู และขณะเดียวการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู


กำเนิดของเมาส์
เมาส์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1963 โดยดักลัส เองเกลบาท (Douglas Engelbart) ที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute) หลังจากการทดสอบการใช้งานอย่างละเอียด (เมาส์เคยมีอีกชื่อนึงว่า “บัก” (bug) แต่ภายหลังได้รับความนิยมน้อยกว่าคำว่า “เมาส์”) มันเป็นหนึ่งในการทดลองอุปกรณ์ชี้(Pointing Device) สำหรับ Engelbart's oN-Line System (NLS) ส่วนอุปกรณ์ชี้อื่นออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนไหวในร่างกายส่วนอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ติดกับคางหรือจมูก แต่ท้ายที่สุดแล้วเมาส์ก็ได้รับการคัดเลือกเพราะง่ายต่อการใช้งาน
เมาส์ตัวแรกนั้นเทอะทะ และใช้เฟือง 2 ตัววางในลักษณะตั้งฉากกัน การหมุนของแต่ละเฟืองจะถูกแปลไปเป็นการเคลื่อนที่บนแกนในปริภูมิ 2 มิติ เองเกลบาทได้รับสิทธิบัตรเลขที่ US3541541 ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 1970 ชื่อ "X-Y Position Indicator For A Display System" (ตัวระบุตำแหน่ง X-Y สำหรับระบบแสดงผล) ในตอนนั้น เองเกลบาทตั้งใจจะพัฒนาจนสามารถใช้เมาส์ได้ด้วยมือเดียว
เมาส์แบบต่อมาถูกประดิษฐ์ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 โดย บิล อิงลิช (Bill English) ที่ศูนย์วิจัยของบริษัท ซีรอกส์ (Xerox PARC) โดยแทนที่ล้อหมุนด้วยลูกบอลซึ่งสามารถหมุนไปได้ทุกทิศทาง การเคลื่อนไหวของลูกบอลจะถูกตรวจจับโดยล้อเล็ก ๆ ภายในอีกทีหนึ่ง เมาส์ชนิดนี้คล้าย ๆ กับแทร็กบอล และนิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตลอดทศวรรษที่ 1980 และ 1990 ทำให้การใช้เมาส์และคีย์บอร์ดในเวลาเดียวกันสามารถเป็นจริงได้
เมาส์ในปัจจุบันได้รับรูปแบบมาจาก École polytechnique fédérale de Lausanne (EPFL) ภายใต้แรงบันดาลใจของ ศาสตราจารย์ Jean-Daniel Nicoud ร่วมกับวิศวกรและช่างนาฬิกาชื่อ André Guignard ซึ่งการดำเนินงานครั้งนี้ทำให้เกิดบริษัท โลจิเทค (Logitech) ผลิตเมาส์ที่ได้รับความนิยมสูงเป็นยี่ห้อแรก

อปติคอลเมาส์
ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเมาส์อีกรูปแบบนึงนั่นก็คือ ออปติคอลเมาส์ (optical mouse) ซึ่งใช้หลักการในการตรวจจับการเคลื่อนไหวโดยใช้เซนเซอร์แสงที่อยู่ใต้เมาส์ ร่วมกับแอลอีดี ออปติคอลเมาส์ในยุคแรก ๆ ประดิษฐ์โดย สตีฟ เคิร์ช (Steve Kirsch) ที่บริษัท Mouse Systems Corporation ซึ่งสามารถใช้ได้บนเมาส์แพด (mouse pad) ที่มีพิ้นผิวเป็นโลหะเฉพาะเท่านั้น และต้องใช้ CUP ของเครืองคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลตำแหน่งของตัวชี้ แต่เมื่อคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง ออปติคอลเมาส์จึงได้ถูกใส่ชิปสำหรับประมวลผลภาพ (image processing chips) เข้าไป ซึ่งทำให้สามารถใช้ได้บนพื้นผิวหลายชนิดมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้เมาส์แพดอีกต่อไป
หลักการของเมาส์แบบที่ไม่ต้องใช้เมาส์แพด คือการใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของพื้นผิวที่เกิดจากการใช้แอลอีดีส่องไปที่พื้นผิว และจะถูกส่งต่อไปที่ส่วนประมวลผลภาพเพื่อที่จะแปลงไปเป็นการเคลื่อนไหวบนแกน X และ Y โดยจะประมวลผลถึง 1512 เฟรมต่อวินาที ซึ่งในแต่ละเฟรมเป็นมีขนาด 18*18 พิกเซล และแต่ละพิกเซลมีระดับความเข้มที่แตกต่างกันได้ถึง 64 เฉด เมาส์แบบนี้มักจะสับสนกับเลเซอร์เมาส์ (laser mouse) และกลายเป็นมาตรฐานในปัจจุบันเนื่องจากความแม่นยำที่มีมากกว่าเมาส์แบบลูกกลิ้ง
ปริมาณความต้องการออปติคอลเมาส์ ส่วนหนึ่งมาจากนักเล่นเกมแนว FPS ซึ่งต้องการความแม่นยำสูงในการเล็งโดยใช้เมาส์

ลเซอร์เมาส์
ในปี 2004 Logitech ร่วมกับ Agilent Technologies ได้นำเลเซอร์เมาส์เข้าสู่ตลาด เมาส์ชนิดนี้ใช้แสงเลเซอร์แทนแอลอีดีแบบเก่า เทคโนโลยีแบบใหม่สามารถเพิ่มรายละเอียดของภาพที่ถูกประมวลผลในเมาส์ได้อีก ถึง 20 เท่าเลยทีเดียว

ารใช้งานปุ่มโดยทั่วไป
การอินพุตผ่านเมาส์นั้นมีหลายรูปแบบนอกเหนือไปจากการเลื่อนเมาส์เพื่อเลื่อนเคอร์เซอร์ เช่น การคลิก (การกดปุ่ม) คำว่าคลิกนั้นมีที่มาจากเสียงคลิกเวลาเรากดปุ่มเมาส์นั่นเอง เสียงนี้เกิดขึ้นจาก micro switch (cherry switch) และใช้แถบโลหะที่แข็งแต่ยืดหยุ่นเป็นตัวกระตุ้นสวิทช์ เมื่อเรากดปุ่ม แถบโลหะนี้ก็จะงอ และกระตุ้นให้สวิทช์ทำงานพร้อมทั้งเกิดเสียงคลิก และช่วยให้ภายในไม่มีภาวะสุญญากาศเกิดขึ้น นอกจากนี้นักวิจัยพบว่าผู้ใช้จะตอบสนองกับเสียงคลิกหลังจากกด มากกว่าความรู้สึกที่นิ้วกดลงไปบนปุ่ม

Single clicking
เป็นการอินพุตที่ง่ายที่สุด โดยหมายรวมทั้งการกดปุ่มบนเมาส์ชนิดปุ่มเดียวและชนิดหลายปุ่ม โดยหากเป็นเมาส์ชนิดหลายปุ่ม จะเรียกการคลิกนี้ตามตำแหน่งของปุ่ม เช่น คลิกซ้าย, คลิกขวา

Double-click
ดับเบิ้ลคลิกคือการกดปุ่ม 2 ครั้งติดต่อกันอย่างเร็ว ใน Macintosh Finder การคลิกจะเป็นการเลือกไฟล์ ส่วนการดับเบิ้ลคลิกนั้นจะเป็นการเปิดไฟล์ อย่างไรก็ดีการดับเบิ้ลคลิกนี้จะยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ เมาส์แบบหลายปุ่มนั้นสามารถที่จะเซ็ทให้ปุ่มใดปุ่มนึงทำงานเหมือนการดับเบิ้ลคลิกด้วยการคลิกครั้งเดียวได้ และ OS ในปัจจุบันสามารถที่จะกำหนดช่วงสูงสุดที่จะคลิกปุ่ม 2 ครั้งให้เป็นดับเบิ้ลคลิกได้

Triple-click
ทริปเปิ้ลคลิกเป็นการกดปุ่ม 3 ครั้งติดต่อกันอย่างรวดเร็ว ใช้มากที่สุดใน word processors และใน web browsers เพื่อที่จะเลือกข้อความทั้งย่อหน้า

Chords
คอร์ดส์คือการคลิกปุ่มตั้งแต่ 2 ปุ่มพร้อมกัน ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้งานนัก ใน X Windows system การกดปุ่มซ้ายและขวาพร้อมกันจะมีผลเหมือนกับการกดปุ่มกลาง

Click-and-drag
คือการกดปุ่มบน object ค้างไว้แล้วลากไปที่ที่ต้องการ

Mouse gestures
mouse gesture เป็นวิธีการผสมผสานการเลื่อนและการคลิกเมาส์ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่จะใช้ได้จะต้องจดจำคำสั่งพิเศษต่างๆ เหล่านี้ได้ เช่นในโปรแกรมวาดภาพ การเลื่อนเมาส์ในแนวแกน X อย่างรวดเร็วบนรูปร่างใดๆ จะเป็นการลบรูปร่างนั้น

Tactile mice
ในปี 2000 Logitech ได้เปิดตัว tactile mouse ซึ่งมีชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่ทำให้เมาส์สั่นได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มส่วนติดต่อกับผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัส เช่นการสั่นเมื่อเคอร์เซอร์อยู่ที่ขอบของ window เมาส์แบบแปลกๆ อีกชนิดหนึ่งสามารถถือไว้ในมือโดยไม่ต้องวางบนพื้นผิว โดยสามารถจับการเคลื่อนไหวได้ถึง 6 มิติ (3 มิติ + การหมุนของ 3 แกน) ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายสำหรับการนำเสนอทางธุรกิจ เมื่อผู้พูดจะต้องยืนหรือเดินไปมา อย่างไรก็ดี เมาส์ชนิดนี้ไม่ได้รับความนิยมในวงกว้าง

มาส์แบบอื่น
นอกจากเมาส์แบบปกติที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งมักจะเป็นเมาส์แบบใช้ด้วยมือ แต่ยังมีเมาส์แบบอื่นๆ อีก โดยทำสำหรับผู้ที่มักมีปัญหาเกี่ยวกับข้อมือเมื่อใช้เมาส์เป็นเวลานานๆ และผู้ที่ใช้เมาส์แล้วรู้สึกไม่สะดวก ซึ่งเมาส์แบบพิเศษนี้มีรูปแบบต่างๆ กันดังนี้ Trackball – ใช้โดยเคลื่อนบอลบนแท่น
Mini-mouse – เมาส์ขนาดไข่ไก่ ซึ่งออกแบบมาเพื่อสะดวกต่อการพกพา มักจะใช้กับแลปทอป
Camera mouse - กล้องที่จะจับการเคลื่อนที่ของศีรษะแล้วเลื่อนเคอร์เซอร์บนจอไปตาม
Palm mouse – ใช้ถือไว้ในมือ และสามารถเร่งความเร็วของเมาส์ได้โดยการกดให้แรงขึ้น
Foot mouse – แทนที่จะใช้นิ้วมือกด ก็มาใช้เท้ากดแทน
Joy-Mouse – เป็นการรวมกันระหว่างเมาส์และจอยสติก โดยการเลื่อนเคอร์เซอร์จะเปลี่ยนมาใช้การโยกจอยแทน



มาส์ไฮเทค
เมาส์ไฮเทคฯใช้บนกระจกใสได้

จุดเด่นคือ สามารถทำงานกับพื้นผิวใดๆ ก็ได้ แม้แต่บนโต๊ะกระจกใสกิ๊ง หรือพูดง่ายๆ มันเป็นเมาส์ที่ไม่ต้องการแผ่นรองเมาส์นั่นเอง



Gyration Air Mouse Elite เมาส์ธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา อิสระแห่งการควบคุมพร้อมที่จับกระชับ




เมาส์สุดแสนสบายและสะดวกสุดๆ ต้อง Gyration Air Mouse Elite ด้วยลักษณะพิเศษที่มีมือจับกระชับ นุ่ม สบาย หมดปัญหาไร้กังวลกับการลื่นไถล หรือจับไม่ถนัดอีกต่อไป ความต้องการพื้นที่ที่ไม่มากนักก็ใช้งานได้แล้ว สำหรับพื้นที่กว้างๆ แล้วไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป เพราะการทำงานของ Air Mouse Elite นั้นจะคล้ายๆ กับเครื่อง WiiMote (รีโมทเครื่องเกม Wii) โดยจะมีไจโรสโคปขนาดเล็กไว้จับทิศทางและความเร็วของการเคลื่อนไหว ถ้าถือแล้วเมื่อยก็สามารถนำ Air Mouse Elite ไปใช้บนโต๊ะทำงานได้ไกลถึง 100 ฟุตโดยจะใช้สัญญาณ RF ในการเชื่อมต่อ ซึ่งก็นับว่าแก้ปัญหาของผู้ใช้งานที่ต้องวุ่นวายใจกับการจัดวางพื้นที่ใช้สอยบนโต๊ะทำงาน เพื่อให้เพียงพอกับการใช้งานเมาส์ เพราะเมาส์ทั่วๆ ไปนั้นต้องการพื้นผิวในการทำงานของโต๊ะส่วนหนึ่ง สำหรับราคาเมาส์ตัวนี้แบบไม่มีที่จับ สนนราคาที่ 99.99$ และเมาส์พร้อมที่จับราคาเริ่มต้นที่ 149.99$



Air Mouse เมาส์กลางอากาศ พร้อมรีโมตคอนโทรล


Mouse ตัวนี้เป็นแบบไร้สายครับ ฟังอย่างนี้แล้วก็ธรรมดาอีกแหละ แต่ที่ไม่ธรรมดาก็คือ มันใช้คลื่นความถี่เดียวกับ Wireless Lan หรือ Wifi นั่นแล ซึ่งใช้ความถี่ 2.4 กิกะเฮิร์ต (GHz) สามารถควบคุม ได้ในระยะไกลถึง 10 เมตรเลยทีเดียว พร้อมปุ่มควบคุมเกี่ยวกับ Media Player ต่างๆ ก็พวกปุ่มปรับ volumeเปลี่ยนเพลง ปุ่ม play stop pause พวกนี้แหละครับ พูดง่ายๆในภาษาบ้านเราก็ รีโมทคอนโทรลดีๆนี่เอง ในเมื่อมันมีฟังก์ชันการใช้งานเป็น รีโมทคอนโทรลแล้วเนี่ย มันก็ควรทำงานในอากาศ ด้วยสาเหตุนี้กระมังที่ทำให้ เม้าส์ (Mouse) ตัวนี้ ควบคุมทิศทางบนอากาศได้ นั่นหมายถึง สามารถใช้บนกระจกโปร่งแสงได้ครับมันเลยถูกเรียกชื่อเต็มๆว่า Logitech MX Air Mouse คำว่า Logitech นั้นเป็นชื่อบริษัืทผู้ผลิต (มั้ง เดาเอา) การทำงานบนอากาศนี้จะใช้ sensor ที่เรียกว่า MEMS sensors (Micro Electro Mechanical Systems)ร่วมด้วยกับเทคโนโลยี DSP และ RF


Toe Mouse เปลี่ยนการใช้นิ้วมือมาใช้นิ้วเท้า

ซึ่งทุกวันนี้ ตั้งแต่เริ่มใช้คอมเป็น จนมาถึงปัจจุบันนี้ เราก็คงจะเคยใช้เมาส์กันอยู่แล้วทุกคนจริงไหมล่ะครับ แต่ก็คงจะรู้กันอยู่ว่า เมาส์ก็ต้องใช้นิ้วมือคลิก จริงไหมล่ะครับ แต่ครั้งนี้ได้มีอะไรที่แปลกใหม่ออกมานั้นก็คือ Toe Mouse ซึงผู้ที่คิดริเริ่มก็ไม่พ้นคุณ Yango ที่ได้ดีไซน์ออกมา ซึ่งกล่าวได้ว่าแตกต่างไปจากรูปร่างหน้าของเมาส์ที่เราเคยเห็นกันอยู่แน่นอน ครับ
และ ที่กล่าวไว้ว่าเมาส์นี้ไม่ธรรมดานั้นก็คือเมาส์นี้ไม่ได้ใช้นิ่วคลิกธรรมดา ครับ แต่ใช้ นิ้วเท้าทั้งสองนิ้วคลิกแทน โดยได้ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้ของคนที่ไม่อาจะใช้นิ้วมือคลิกได้ (อาจจะเป็นผู้พิการ ฯลฯ) โดย การใช้งานนั้นก็คงมีโครงการการใช้งานเหมือนเมาส์ทั่วไป แต่เพียงใส่ Toe Mouse เข้ากับเท้า แล้วขยับไปมาแทนการลากเมาส์ โดยเมาส์มีการคลิกขวา ซ้าย โดยได้ใช้วัสดุที่แข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=noolin&month=04-2010&date=10&group=30&gblog=13