เเบบฝึกหัดท้ายบทที่5

1. Cross-platform application คืออะไรจงอธิบาย


1. กลุ่มคำสั่งที่บรรจุอยู่ในหน่วยความจำ ROM ซึ่งเก็บข้อมูลอย่างถาวร

2. โปรแกรมประยุกต์ซึ่งสามารถทำงานได้กับระบบปฏิบัติการหลายๆ ค่าย

3. วงจรหน่วยความจำแบบ Flash Rom ที่สามารถแก้ไขโปรแกรมได้

4. โปรแกรมส่วนหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่



2. เสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ตอบสนองออกมาสั้นบ้าง ยาวบ้างนั้น
เกิดจากกระบวนการในขั้นตอนใดและเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น


1. ขั้นตอนที่1 Power Supply ส่งสัญญาณไฟฟ้าเพราะจะทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้า

ไปให้อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

2. ขั้นตอนที่ 2 Bios เริ่มทำงาน เพราะ CPU จะพยายามเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ใน Bios

เพื่อทำงานตามชุดคำสั่ง

3. ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการ Post ทำการตรวจเช็คอุปกรณ์ เพราะ โปรแกรมส่วนหนึ่งใน Bios

ทำหน้าที่ ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่

4. ขั้นตอนที่ 4 นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลใน CMOS เพราะ ผลลัพธ์จากกระบวนการ

POST นี้จะถูกนำมาตรวจสอบกับข้อมูลใน CMOS



3.จงบอกถึงความแตกต่างระหว่างส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบ command line และแบบ GUIอธิบายมาพอสังเขป


1. แบบ command line อนุญาตให้ป้อนรูปแบบคำสั่งตัวหนังสือ แต่แบบ GUI

ต้องป้อนข้อมูลชุดคำสั่งที่ละบรรทัด

2. แบบ command line อนุญาตให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลกระทำการลงไปได้เฉพาะบริเวณ

แต่แบบ GUI อนุญาตให้ป้อนรูปแบบคำสั่งตัวหนังสือ

3. แบบ command line ต้องป้อนข้อมูลชุดคำสั่งทีละบรรทัด แต่แบบ GUI

อนุญาตให้ป้อนข้อมูลกระทำการลงไปได้เฉพาะบริเวณนี้

4. แบบ command line อนุญาตให้ป้อนรูปแบบคำสั่งที่เป็นตัวหนังสือ แต่แบบ GUI

เลือกรายการคำสั่งภาพที่ปรากฎบนจอนั้นผ่านอุปกรณ์บางอย่าง



4. Spooling ที่เกิดขึ้นในการพิมพ์งาน มีหลักการอย่างไรบ้าง


1. ตัวฮาร์ดดิสจะทำหน้าที่พักข้อมูลทั้งหมดไว้ก่อน แล้วจึงจะส่งไปยังเครื่องพิมพ์ตามลำดับ

2. ตัวฮาร์ดดิสส่งการให้เครื่องพิมพ์ พิมพ์ผลลัพธ์ออกมาพร้อมกัน

3. ตัวฮาร์ดดิสมีหน้าที่สั่งการให้ข้อมูล พิมพ์ออกมาตามลำดับ

4. ตัวฮาร์ดดิสจะทำหน้าที่จัดลำดับของงานที่จะสั่งพิมพ์



5. Multi-processing คือการประมวลผลงานลักษณะใด
มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป


1. ประมวลผลกลางมากกว่าหนึ่งตัว ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายๆ คำสั่งงาน

ในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานของ CPU เหล่านั้นให้สอดคล้องกันเป็นอย่างดี

2. ประมวลผลกลางมากกว่าหนึ่งตัว ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้หลายๆ คำสั่งงาน

ในเวลาเดียวกัน การทำงานระหว่างหลาย CPU ย่อมมีเวลาส่วนหนึ่งที่ต้องเสียไปใน การประสานงาน

3. ประมวลผลกลางมากกว่าหนึ่งตัว ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เพียงทีละคำสั่งเท่านั้น

โดยจะสลับการทำงานมาระหว่างโปรแกรมของแต่ละงาน

4. ประมวลผลกลางมากกว่าหนึ่งตัว หาก CPU ตัวใดตัวหนึ่งเสียไปในการประสานงาน

ก็ไม่สามารถประสานงานต่อไปได้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น