เเบบฝึกหัดท้ายบทที่5
1. กลุ่มคำสั่งที่บรรจุอยู่ในหน่วยความจำ ROM ซึ่งเก็บข้อมูลอย่างถาวร
2. โปรแกรมประยุกต์ซึ่งสามารถทำงานได้กับระบบปฏิบัติการหลายๆ ค่าย
3. วงจรหน่วยความจำแบบ Flash Rom ที่สามารถแก้ไขโปรแกรมได้
4. โปรแกรมส่วนหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่
2. เสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ตอบสนองออกมาสั้นบ้าง ยาวบ้างนั้น
เกิดจากกระบวนการในขั้นตอนใดและเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น
1. ขั้นตอนที่1 Power Supply ส่งสัญญาณไฟฟ้าเพราะจะทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้า
ไปให้อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ขั้นตอนที่ 2 Bios เริ่มทำงาน เพราะ CPU จะพยายามเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ใน Bios
เพื่อทำงานตามชุดคำสั่ง
3. ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการ Post ทำการตรวจเช็คอุปกรณ์ เพราะ โปรแกรมส่วนหนึ่งใน Bios
ทำหน้าที่ ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่
4. ขั้นตอนที่ 4 นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลใน CMOS เพราะ ผลลัพธ์จากกระบวนการ
POST นี้จะถูกนำมาตรวจสอบกับข้อมูลใน CMOS
3.จงบอกถึงความแตกต่างระหว่างส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบ command line และแบบ GUIอธิบายมาพอสังเขป
1. แบบ command line อนุญาตให้ป้อนรูปแบบคำสั่งตัวหนังสือ แต่แบบ GUI
ต้องป้อนข้อมูลชุดคำสั่งที่ละบรรทัด
2. แบบ command line อนุญาตให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลกระทำการลงไปได้เฉพาะบริเวณ
แต่แบบ GUI อนุญาตให้ป้อนรูปแบบคำสั่งตัวหนังสือ
3. แบบ command line ต้องป้อนข้อมูลชุดคำสั่งทีละบรรทัด แต่แบบ GUI
อนุญาตให้ป้อนข้อมูลกระทำการลงไปได้เฉพาะบริเวณนี้
4. แบบ command line อนุญาตให้ป้อนรูปแบบคำสั่งที่เป็นตัวหนังสือ แต่แบบ GUI
เลือกรายการคำสั่งภาพที่ปรากฎบนจอนั้นผ่านอุปกรณ์บางอย่าง
4. Spooling ที่เกิดขึ้นในการพิมพ์งาน มีหลักการอย่างไรบ้าง
1. ตัวฮาร์ดดิสจะทำหน้าที่พักข้อมูลทั้งหมดไว้ก่อน แล้วจึงจะส่งไปยังเครื่องพิมพ์ตามลำดับ
2. ตัวฮาร์ดดิสส่งการให้เครื่องพิมพ์ พิมพ์ผลลัพธ์ออกมาพร้อมกัน
3. ตัวฮาร์ดดิสมีหน้าที่สั่งการให้ข้อมูล พิมพ์ออกมาตามลำดับ
4. ตัวฮาร์ดดิสจะทำหน้าที่จัดลำดับของงานที่จะสั่งพิมพ์
5. Multi-processing คือการประมวลผลงานลักษณะใด
มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป
1. ประมวลผลกลางมากกว่าหนึ่งตัว ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายๆ คำสั่งงาน
ในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานของ CPU เหล่านั้นให้สอดคล้องกันเป็นอย่างดี
2. ประมวลผลกลางมากกว่าหนึ่งตัว ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้หลายๆ คำสั่งงาน
ในเวลาเดียวกัน การทำงานระหว่างหลาย CPU ย่อมมีเวลาส่วนหนึ่งที่ต้องเสียไปใน การประสานงาน
3. ประมวลผลกลางมากกว่าหนึ่งตัว ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เพียงทีละคำสั่งเท่านั้น
โดยจะสลับการทำงานมาระหว่างโปรแกรมของแต่ละงาน
4. ประมวลผลกลางมากกว่าหนึ่งตัว หาก CPU ตัวใดตัวหนึ่งเสียไปในการประสานงาน
ก็ไม่สามารถประสานงานต่อไปได้
Database !!
ข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วย
เช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูลตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการ
เก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการ
นำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่
ก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็น
ฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมา
ใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
ตัวอย่าง
ชื่อฐานข้อมูล | กลุ่ม ข้อมูล |
บริษัท | - ลูกค้า - สินค้า - ใบสั่งสินค้า |
โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย | - นักเรียน - อาจารย์ - วิชา - การลงทะเบียน |
ซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้การบำรุงรักษาตัวโปรแกรมง่ายมากขึ้นโดยผ่านระบบการ
จัดการฐานข้อมูล หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า DBMS
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูลเป็นเพียงวิธีคิดในการประมวลผล
รูปแบบหนึ่งเท่านั้นแต่การใช้ฐานข้อมูลจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
1.แอพลิเคชันฐานข้อมูล (Database Application) เป็นแอพพลิเคชันที่สร้างไว้ให้
ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้อย่างสะดวก ซึ่งมีรูปแบบการติดต่อกับ
ฐานข้อมูลแบบเมนูหรือกราฟฟิก โยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลเลย
ก็สามารถเรียกใช้งานฐานข้อมูลได้เช่น บริการเงินสด ATM
2.ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System หรือ DBMS)
ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง
ข้อมูลได้โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างฐานข้อมูล
พูดง่าย ๆ ก็คือ DBMS นี้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ตัวอย่างของDBMSที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ได้แก่ Microsoft Access, FoxPro, SQL Server, Oracle,Informix, DB2 เป็นต้น
หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล มีดังนี้
1. กำหนดมาตรฐานข้อมูล
2. ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลแบบต่าง ๆ
3. ดูแล-จัดเก็บข้อมูลให้มีความถูกต้องแม่นยำ
4. จัดเรื่องการสำรอง และฟื้นสภาพแฟ้มข้อมูล
5. จัดระเบียบแฟ้มทางกายภาพ (Physical Organization)
6. รักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในฐานข้อมูล และป้องกันไม่ใช้ข้อมูลสูญหาย
7. บำรุงรักษาฐานข้อมูลให้เป็นอิสระจากโปรแกรมแอพพลิเคชันอื่น ๆ
8. เชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน เพื่อรองรับความต้องการใช้ข้อมูล
ในระดับต่าง ๆ
- GIS ฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยาย (attribute data) และสารสนเทศ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ในรูปของ ตารางข้อมูล และ ฐานข้อมูลโปรแกรมนี้กรมที่ดินใช้อยู่ ฐานข้อมูล CDS/ISIS หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ประกอบด้วยหน่วยของสารนิเทศ ( Unit of Information ) ที่ได้รับการจัดกลุ่มให้อยู่รวมกันตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย สารนิเทศแต่ละหน่วยในฐานข้อมูล จะประกอบด้วยหน่วยข้อมูล (Data elements) ต่างๆ โดย แต่ละหน่วยข้อมูลแสดงถึงคุณสมบัติเฉพาะของข้อมูล และจัดเก็บในเขตข้อมูล (Field) โดยเขตข้อมูลทุกค่าจะมีหมายเลขประจำเขตข้อมูล (Field Tag ) เพื่อใช้ในการอ้างอิง กลุ่มของเขตข้อมูลประกอบกันเป็นระเบียน (Record) โปรแกรม CDS/ISIS มีลักษณะพิเศษ เฉพาะที่ต่างจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั่วไปอื่นๆ กล่าวคือได้รับการออกแบบให้สามารถ จัดเก็บค่าข้อมูลและระเบียนข้อมูลที่สามารถเปลี่ยนแปลงความยาวได้ (Variable Lenght) บางเขตข้อมูลอาจมีหรือไม่มีข้อมูลก็ได้ หรือบางเขตข้อมูลอาจมีข้อมูลมากกว่า 1 หน่วยก็ได้ เรียกกว่ามีเขตข้อมูลย่อย (Sub-Field) นอกจากนั้นในบางระเบียนอาจเกิดเขตข้อมูลเดียวกัน หลายครั้งก็ได้ เรียกว่ามีเขตข้อมูลซ้ำ ( Repeatable Field)
ที่มา:http://www.spvc.ac.th/webpage/mon/MonchaiWebpage/Subjects/DBMS32042014/dataBaseIntro.html